หลักสูตรฝึกประสบการณ์ในวิชาชีพจะช่วยให้ผู้เข้าฝึกฝนทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในสถานการณ์จริง
โดยเน้นการฝึกตามสาขาวิชาและตามความสนใจของนักศึกษาเป็นหลักซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกทำ
Project Report หรือพัฒนางานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาสาขาวิชาตามที่
สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลกำหนดให้ ภายใต้ข้อกำหนดและรูปแบบที่สถาบันการศึกษาต้นสังกัดกำหนด 
ทั้งนี้นักศึกษาจะไดัรับการอบรมและฝึกปฏิบัติในหลักสูตรเหล่านี้จะเสริมสร้างความมั่นใจและความเชี่ยวชาญ
ในการปฏิบัติงานในที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาหรือตามที่นักศึกษาสนใจและนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

การพัฒนาโครงงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพระยะสั้น (ลักษณะโครงงาน)

  •   โครงงานพัฒนาระบบสารสนเทศหรือนวัตกรรมบริการต่างๆ
  •   โครงงานพัฒนาตามแผนงานกิจกรรมในโครงการยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
  •   โครงงานที่ช่วยแก้ปัญหาการทำงาน
  •   อื่นๆ ตามความสนใจของนักศึกษา หรือตามที่ได้รับมอบหมาย


การนำเสนอโครงงาน (Project)

  • รูปแบบการเขียนรายงานการฝึกงานกำหนดตามเงื่อนไขของสถาบันการศึกษาต้นสังกัด
  • การนำเสนอผลงานภายใน  1 สัปดาห์ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการฝึกงาน
  • ก่อนนำเสนอผลงานจัดส่งรายงานให้ผู้ทรงคุณวุฒิล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน
  • นำเสนอผลงานต่อ ผู้บริหาร พนักงานที่ปรึกษาโครงงาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
  • นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขผลงานและรายงานตามข้อเสนอแนะ พร้อมนำส่งเอกสารพนักงานที่ปรึกษา


การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากสำนักหอสมุด

  •  พนักงานที่ปรึกษาประเมินโครงงาน/รายงานการปฏิบัติงาน และประเมินผลงานการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การประเมินของแต่ละสถาบัน
  •  ฝึกประสบการณ์วิชาชีพตรวจสอบและประเมินเนื้อหารายงานก่อนลงนามอนุญาตให้เผยแพร่


 ประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากนักศึกษาและอาจารย์นิเทศงาน

  •  นักศึกษาประเมินผลการเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
  •  อาจารย์นิเทศงานประเมินผลการส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับสำนักเทคโนโลยีดิจิทัล

สรุปและส่งรายงานผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 

 สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลจะสรุปผลการปฏิบัติงานและจัดทำหนังสือส่งตัวนักศึกษากลับมหาวิทยาลัย พร้อมแนบเอกสารรายงานผลการฝึกงาน และหนังสือรับรองต่างๆ ดังนี้

  • เอกสารประเมินโครงงาน/รายงานการปฏิบัติงาน และประเมินผลงานการปฏิบัติงานนักศึกษา
  • หนังสือรับรองการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

แบบยื่นคำขอลงทะเบียนฝึกประสบการณ์